หูด-ตาปลา

หูดข้าวสุก


หูดข้าวสุก 

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เด็กผู้ชายวัยประถมศึกษา อายุประมาณ 10 ปี มาหาหมอที่คลินิกพร้อมมารดา ด้วย ปัญหาเรื่องเม็ดนูนๆ โดยมีเม็ดแรกขึ้นที่ขาข้างขวา ขนาดของเม็ดนูนประมาณ 2 มิลลิเมตร สีเดียวกับผิวหนัง อีกประมาณ 1 เดือนต่อมา เริ่มมีเม็ดชนิดเดียวกันกระจายในบริเวณใกล้เคียง แต่ขนาดของเม็ดจะเล็กกว่าเดิม ต่อมาเริ่มลามไปที่ขาอีกข้าง เอวและหลัง แต่ที่ต้องมาหาหมอเพราะมีเม็ดเล็กๆ ขึ้นไม่ยุบ มองดูคล้ายสิวแต่ไม่มี หัวสิวหลุดออกมา ถึงแม้จะไม่เจ็บปวด ไม่คัน แต่ดูไม่สวยและกลัวว่าจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ รวมระยะเวลา การเป็นโรคนี้ประมาณ 2-3 เดือน

หูดข้าวสุก

เหล่านี้เป็นอาการของ “หูดข้าวสุก” เมื่อถามถึงพฤติกรรมของเด็ก ก็ได้ข้อมูลว่า หลังจากวิ่งเล่นจนเหนื่อยเหงื่อออกมาก จนเสื้อผ้าเปียกชื้นก็ยังสวมใส่ต่ออีกหลายชั่วโมง เมื่อถึงเวลาอาบน้ำช่วงเย็น ก็อาบน้ำอย่างรวดเร็ว ฟอกสบู่ไม่ทั่วร่างกาย ส่วนใบหน้าไม่กล้าฟอกสบู่เพราะกลัวสบู่เข้าตา เมื่ออาบน้ำเสร็จมักจะไม่ได้เช็ดตัวให้แห้งก่อน ที่จะใส่เสื้อผ้าชุดใหม่ จึงเป็นการสวมเสื้อผ้าเปียกชื้นอีกระยะเวลาหนึ่งจนกว่าเสื้อผ้าจะแห้งโดยธรรมชาติ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เหมาะเจาะสำหรับการเจริญเติบโตของไวรัสที่เป็นสาเหตุของหูดข้าวสุก (Molluscum contagiosum) ได้เป็นอย่างดี

หูดชนิดนี้ เรียกตามภาษาพื้นบ้านว่า หูดข้าวสุก เพราะถ้าใช้เข็มสะกิดออกหรือรอให้หูดสุกเต็มที่ จะมีก้อน สีขาวขนาด 1-2 มิลลิเมตร หลุดออกมา ก้อนดังกล่าวมีสีคล้ายข้าวสุก คนโบราณเป็นคนช่างสังเกตจึงเรียกชื่อหูด นี้ว่า หูดข้าวสุก ภาษาแพทย์เรียก Molluscum contagiosum เป็นเชื้อไวรัสผิวหนังชนิดหนึ่ง เป็นโรคที่มีตั้งแต่สมัยโบราณแต่ไม่ค่อยแพร่หลาย มักเป็นในเด็กที่มีนิสัยซุกซน สุขลักษณะส่วนตัวไม่ดีพอ โดยเฉพาะหากทำความสะอาดร่างกายไม่สะอาดเท่าที่ควร อาบน้ำไม่เกลี้ยง สวมใส่เสื้อผ้าชื้นแฉะ เมื่อเชื้อไวรัสชนิดนี้ติดบนผิวหนังจึงอยู่อาศัยได้นานพอที่จะก่อโรคได้ ประกอบกับเมื่อมีเม็ดหูดข้าวสุก ขึ้นมาเม็ดแรกจะไม่มีอาการเจ็บ ไม่มีอาการคัน และตุ่มหูดข้าวสุกมีขนาดเล็กแค่ 1-2 มิลลิเมตร ดูคล้ายสิว ตัวเด็กเองอาจไม่สังเกตเห็นด้วยซ้ำ ถ้าผู้ปกครองไม่ตรวจตราผิวพรรณของลูกให้ถ้วนถี่ปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ สักประมาณ 1 เดือนต่อมา หูดจะเพิ่มจำนวนเหมือนการออกลูกออกหลานในบริเวณผิวพรรณใกล้เคียงอีกหลายสิบเม็ด โดยที่เจ้าตัวไม่ทันสังเกตเพราะไม่มีอาการเจ็บปวดหรือคันแต่ประการใด

และที่ทำให้ผู้ปกครองพลาดก็คือ หูดชนิดนี้เริ่มแรกเป็นในร่มผ้า จึงไม่เห็น ต่อเมื่อกระจายออกมาภายนอกเช่น ใบหน้า คอ ข้อพับแขนและขาจึงเริ่มมองเห็นว่าเป็นสิ่งผิดปกติ หูดข้าวสุกติดต่อได้โดยการสัมผัส โดยเฉพาะการกอดรัดฟัดเหวี่ยงในเด็กวัยเดียวกัน แต่มิใช่ว่าใครสัมผัสแล้วจะเป็นทุกรายขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานของแต่ละคนรวมทั้งสุขลักษณะส่วนตัวด้วย ถ้าสัมผัสกับคนเป็นโรคแล้วหมั่นรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเสมอ โดยพักผ่อน ให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์รวมทั้งผักและผลไม้ที่มีวิตามินหลายอย่างคละเคล้ากันไป อาบน้ำให้สะอาดอยู่เสมอ เสื้อผ้าต้องซักตากแดดหรือรีดด้วยเตารีดก็จะเป็นการป้องกันมิให้เชื้อหูดเจริญเติบโต พอที่จะก่อโรคบนผิวพรรณของผู้ที่สัมผัสกับโรค

สำหรับการรักษาหูดข้าวสุกนั้น ถ้าสงสัยให้รีบพามาตรวจกับแพทย์ทันที ตั้งแต่มีหูดเพียง 2-3 เม็ด เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้จนออกลูกออกหลานเพิ่มเป็นสิบๆ เม็ด จะรักษานานและยากมากขึ้น วิธีการรักษาทำได้ไม่ยากโดยใช้เข็มสะกิดเอาหัวขาวๆ ให้หลุดออกมา หรือใช้น้ำยาที่มีฤทธิ์เป็นกรด แต้มเป็นการทำลายเชื้อจะหลุดออกมาเอง แต่อย่างไรก็ตาม วิธีการดังกล่าวอาจทำให้เด็กมีอาการเจ็บเล็กน้อย และมักไม่ใคร่ให้ความร่วมมือ ทำให้การรักษายากขึ้น การทายาชาทิ้งไว้ 30-45 นาที เพื่อให้ผิวหนังเกิดอาการชา แล้วจึงลงมือสะกิดหัวหูดออกมาก็เป็นวิธีที่ดีอีกวิธีหนึ่ง แต่ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มสำหรับการใช้ยาชาเฉพาะที่ด้วย

นอกจากหูดข้าวสุก ยังมีหูดชนิดอื่นๆ อีก เช่น หูดเม็ดนูนที่ขึ้นบริเวณฝ่าเท้า ฝ่ามือ หูดราบซึ่งมีผิวหน้าด้าน บนราบเรียบขอบขึ้นบริเวณใบหน้าโดยเฉพาะหน้าผาก

หูดนูนผิวหยัก ชอบขึ้นบริเวณฝ่าเท้า ฝ่ามือ จะมีขนาด 3-10 มิลลิเมตร เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชอบความอับชื้นมีกลิ่นเหม็นอับ ดังเช่น เท้าที่ใส่รองเท้าหุ้มส้นมิดชิดวันละหลายชั่วโมง ไม่มีอาการคัน แต่เมื่อเม็ดโตมากขึ้น ถูกน้ำหนักตัวกดลงบนเม็ดนูนขณะเดิน สักระยะหนึ่งหูดชนิดนี้จะแบนราบ และเริ่มมีอาการเจ็บ โดยเฉพาะเวลาเดินไกลๆ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง และยังสวมใส่รองเท้าอับชื้นต่อไป จะมีการเพิ่มจำนวน ควรนำรองเท้าออกไปทำความสะอาด ตากแดดเป็นประจำเพื่อขจัดความชื้นให้หมดไป สำหรับการรักษาหูดนูนบริเวณฝ่าเท้า ควรใช้ยาละลายขุย (Salicylic acid 40%) ทาประมาณ 2-4 สัปดาห์ เม็ดหูดจะฝ่อเป็นสีขาวและผิวลอกออกอาจช่วยโดยใช้กรรไกรตัดเล็บ ตัดส่วนบนออกเรื่อยๆ จนออกหมดทั้งก้อน วิธีนี้เป็นการรักษาแบบดั้งเดิมแต่ยังได้ผลดีและมีผลแทรกซ้อนน้อยมาก

หูดราบ จะเป็นเม็ดนูน สีเดียวกับผิว ขนาด 2-3 มิลลิเมตร ผิวบนจะแบนราบไม่ขรุขระ พบครั้งละหลายเม็ดบริเวณใบหน้า โดยเฉพาะหน้าผาก ไม่มีอาการคันและเจ็บ แต่จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะรายที่มีเหงื่อออกบนใบหน้ามาก การรักษาต้องรีบทำอย่าปล่อยให้เพิ่มจำนวนมากขึ้น สิ่งแรกคือ ต้องหมั่นทำความสะอาดใบหน้า อย่าหมักหมมเหงื่อ ขั้นต่อมาคือ ทายาละลายขุยหรือกรดวิตามินเอ อย่างใดอย่างหนึ่งจนกว่าจะยุบหมด การใช้ผ้าขนหนูขนาดพอเหมาะชุบน้ำอุ่นประคบวันละ 4-5 ครั้ง จะทำให้ผื่นยุบหายได้เช่นกัน ซึ่งวิธีนี้เป็นการรักษาแบบโบราณซึ่งยังได้ผลจนถึงปัจจุบัน

หูดข้าวสุก หูดเม็ดนูน และหูดราบ เป็นเชื้อไวรัสที่ชอบขึ้นตามผิวพรรณซึ่งอับชื้น หูดข้าวสุกมักเป็นในเด็กระดับอนุบาลและประถม ขึ้นตามที่อับชื้นภายในร่มผ้า ส่วนหูดเม็ดนูนมักเป็นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ถ้าเท้าอับชื้นขึ้นอยู่ภายในรองเท้าที่ปิดมิดชิดหรือมือเปียกชื้นบ่อยจากการทำงานบ้าน หูดราบชอบขึ้นบนใบหน้าในวัยรุ่น แต่อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งที่ผิดปกติไปจากที่กล่าวแล้ว ก็อาจพบหูดข้าวสุก หูดเม็ดนูนและหูดราบได้บ้างในบางราย เมื่อเป็นแล้วต้องรีบรักษาตั้งแต่มีจำนวน 2-3 เม็ด ถ้าทิ้งไว้นานๆ เป็นสิบเม็ด จะรักษายากขึ้น เจ็บตัวมากขึ้นและใช้เวลานานขึ้นอีก

 

ที่มา :

หนังสือ นิตยสารใกล้หมอ ปีที่ 27 ฉบับที่ 5 มิถุนายน 2546

Categories: หูด-ตาปลา | ป้ายกำกับ: , , , | ใส่ความเห็น

ALDARA CREAM ยาทาหูดหงอนไก่และหูดข้าวสุก


ALDARA CREAMยาทาหูดเป็นยาที่ใช้ทาเพื่อรักษาหูดที่อวัยวะเพศและยังมีการนำมาทดลองใช้ในการรักษาหูดข้าวสุก

ยารักษาหุดหงอนไก่aldara cream

ALDARA CREAM คือยาอะไร 

  • Aldara เป็นชื่อทางการค้าของยา Imiquimod ยาตัวนี้ทำงานโดยการกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้มาทำลายเซลล์ผิวหนังที่ติดเชื้อไวรัส หรือเชื้อมะเร็งเป็นยาที่ควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์

ALDARA CREAM ใช้รักษาโรคอะไรได้บ้าง ?

  • actinic keratosisเป็นรอยผื่นที่ผิวหนังที่อาจกลายเป็นมะเร็งผิวหนัง มักพบในผู้สูงอายุสำหรับรอยโรคขนาดกว้างไม่เกิน 25 เซนติเมตรใช้ทาสองครั้งต่อสัปดาห์ [เช่น ทุกคืน วันจันทร์ วันพฤหัส ] จนรอยโรคหายแต่ไม่เกินสี่เดือน

Sactinic keratosis

  • มะเร็งผิวหนังชนิด superficial basal cell carcinomaเฉพาะที่ขนาดใหญ่ไม่เกิน 2 cm และไม่เหมาะในการรักษาด้วยวิธีอื่นใช้ทาห้าวันต่อสัปดาห์ก่อนนอน เช่นทาทุกคืนวันจันทร์ถึงศุกร์ ต่อเนื่องเป็นเวลาหกสัปดาห์

superficial basal cell carcinoma

 

  • สำหรับรักษาหูดหงอนไก่ เฉพาะหูดหงอนไก่เฉพาะที่อวัยวะเพศภายนอกมิใช่ที่อวัยวะเพศส่วนที่เป็นเยื่อเมือกใช้ทาที่หูดก่อนนอนสามวันต่อสัปดาห์ เช่นทุกคืนวันจันทร์ พุธ ศุกร์ จนรอยโรคหายแต่ไม่เกิน สี่เดือน

หูดหงอนไก่

 

  • รักษาหูดข้าวสุกยังไม่เป็นการรักษามาตรฐานแต่มีการทดลองใช้ในเด็กอายุ 1-9ปี โดยทาที่หูดข้าวสุกสามครั้งต่อสัปดาห์เช่นเดียวกับการรักษาหูดหงอนไก่ เป็นเวลาสามเดือน พบว่าหูดข้าวสุกหายไปบางส่วน

รักษาหูดข้าวสุก

 

ALDARA CREAM วิธีใช้ยาสำหรับรักษาหูดหงอนไก่และหูดข้าวสุก

  • ล้างมือก่อนและหลังทายาทำความสะอาดบริเวณที่ต้องการทายาด้วยสบู่อ้อนแล้วล้างน้ำ
  • ทายาก่อนนอน ทายาเฉพาะบริเวณรอยโรคเนื่องจากยาควรทาทิ้งไว้ ไม่น้อยกว่าแปดชั่วโมงจึงล้างออกไม่ควรใช้ยาทาเกิน 2 ซองในการทาแต่ละครั้งทายาบางๆนวดบริเวณที่ทาเบาๆระวังอย่าให้เข้าตา เข้าช่องคลอดหรือทวารหนักเพราะจะเกิดอาการระคายเคืองต่อเยื่อเมือก
  • เลี่ยงแสงแดดบริเวณที่ทายา รวมถึงทาครีมกันแดด
  • ไม่ทายาในบริเวณผิวที่มีแผล หรือมีการติดเชื้อ
  • ห้ามทายาเกินระยะเวลาที่แพทย์กำหนด

ALDARA CREAM ข้อห้ามใช้

  • ไม่ใช้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น HIV ภูมิแพ้ตนเอง ปลูกถ่ายอวัยวะ

ALDARA CREAM ผลข้างเคียง

  • พบผื่นแพ้สัมผัสและอาการระคายเคืองได้ในบริเวณที่ทายาอาจทำให้สีผิวบริเวณที่ทายาสีอ่อนลงหรือเข้มขึ้น
  • อาการระคายเคืองแสบร้อนเป็นสะเก็ดบริเวณที่ทายาเป็นปฏิกิริยาที่พบได้บ่อย
  • หากเกิดอาการขึ้นควรเว้นการทายาและเริ่มทายาอีกครั้งตามคำแนะนำของแพทย์

ALDARA CREAM ยาทาหูดหงอนไก่หญิงมีครรภ์ใช้ได้หรือไม่

  • ยาจัดอยู่ใน Pregnancy Category Cคือพบมีผลข้างเคียงต่อทารกในครรภ์ของสัตว์คือไม่มีข้อมูลเพียงพอในมนุษย์ว่าจะเกิดผลเสียอย่างไรจึงควรชั่งน้ำหนัก ระหว่างความจำเป็นที่ต้องใช้ยากับโอกาสเกิดผลข้างเคียง
  • ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์แพทย์เฉพาะทาง

ALDARA CREAM หญิงให้นมบุตร ใช้ได้หรือไม่ ?

  • สำหรับหญิงให้นมบุตรยังไม่มีรายงานว่าตัวยาผ่านทางน้ำนมสู่ทารก หรือไม่ ?
  • ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์แพทย์เฉพาะทาง

เด็กใช้ ALDARA CREAM ได้หรือไม่ ?

  • ยังไม่มีรายงานความปลอดภัยในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี
  • ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์แพทย์เฉพาะทาง

ที่มา :

http://www.skinanswer.org

Categories: หูด-ตาปลา, หูดหงอนไก่ | ป้ายกำกับ: , , , , , , , , , , , | ใส่ความเห็น

หูดหงอนไก่ และ วิธีรักษา


หูดหงอนไก่  HPV หรือในชื่อเต็มว่า Human Papilloma Virus เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดหูดชนิดต่างๆ มีมากกว่า 180 สายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์ก็ก่อโรคหูดแตกต่างกันไป ที่สำคัญมีหลายสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดหูดบริเวณอวัยวะเพศ

หูดหงอนไก่  เป็นหูดที่เรารู้จักกันดีมานาน แต่เดิมเราก็ไม่ได้เฉลียวใจถึงความร้ายกาจของมัน เป็นมาก็รักษากันไป แต่ในตอนหลังเราพบว่า หูดเหล่านี้นอกจากจะเกิดจาเชื่อ HPV สายพันธุ์ เบอร์ 6 และเบอร์ 11 แล้วก็มีหลายรายที่เกิดจากสายพันธุ์ 16 และเบอร์ 18 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ดุมีโอกาสทำให้ กลายเป็นมะเร็วได้ หูดหงอนไก่จึงไม่ใช่หูดธรรมดาๆ อย่างที่เราเคยรู้จักกันซะแล้ว

การติดเชื้อ HPV มีมากแค่ไหน มีการประมาณการกันว่า ประชากรของไทยเรา ประมาณ 20-40 % ติดเชื้อ HPV  แต่ส่วนใหญ่การติดเชื่อนั้นไม่แสดงอาการ ส่วนที่มีอาการไม่ว่าสายพันธุ์ธรรมดา หรือสายพันธุ์ดุ ก็มีโอกาสหายเองได้เหมือนกัน โดยที่คนอายุน้อยมีโอกาสหายได้เองมากกว่าคนอายุมาก

หูดของอวัยวะสืบพันธุ์ มีอาการแสดงออกหลายแบบ แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 4 กลุ่มดังนี้

1. หูดหงอนไก่ ( condyloma accuminata) เป็นหูดที่เรารู้จักกันดี โดยเฉพาะนักเที่ยวทั้งหลายทราบซึ้งกันเป็นอย่างดี มีลักษณะเป็นดอกกะหล่ำ หรือแบบหงอนที่หัวไก่ชน

หูดหงอนไก่

2. หูดผิวเรียบ (smooth papular warts) มีสีเนื้อ ผิวเรียบขนาด 1 – 4 มิลลิเมตร มักพบบริเวณเยื่อบุต่างๆ แต่ที่ผิวหนังก็อาจพบได้ ที่พบบ่อยๆ ก็ตรงโคนอวัยวะ ที่ถุงยางอนามัยคลุมไม่ถึง

หูดหงอนไก่

3. หูดผิวหนัง (keratotic genital warts) ลักษณะก็เหมือนหูดตามผิวหนังทั่วไป บางรายอาจพบหูดนี้ ตามร่างกายก่อนที่จะเป็นที่อวัยวะเพศด้วยซ้ำไป

หูดหงอนไก่

4. หูดแบน (flat warts) อาจเป็นหลายจุดใกล้ๆกันแล้วรวมตัวเป็นปื้นใหญ่ มักพบตามเยื่อบุต่างๆ หรือตามผิวหนังก็อาจพบได้

หูดนิ้วมือ

นอกจากนี้ยังมีชนิดย่อยๆ ที่พบได้เช่น

หูดยักษ์ ( Giant Condyloma Accumunata หรือ Buschke-Lowenstein tumor) เกิดจาก HPV สายพันธุ์ไม่ดุ (6, 11) แต่ดูน่ากลัวเพราะมีขนาดใหญ่

หูดหงอนไก่

หูดในท่อปัสสาวะ ( Urethral Meatus Warts) เป็นหูดที่มีปัญหาในการรักษามากที่สุด เพราะมักจะไม่หายขาด หายแล้วกลับมาเป็นอีก เพราะนอกจากจะเกิดบริเวณปลายท่อปัสสาวะ ให้เจ้าของเห็นแล้ว ก็อาจยังมีในท่อปัสสาวะที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วย

หูดหงอนไก่

 

หูดในทวารหนัก (Intra-Anal Warts) หูดพวกนี้พบมากในพวกเกย์ พบว่าเยื่อบุในทวารหนักมีลักษณะคล้ายกับบริเวณปากมดลูกจึงมีโอกาสเกิดมะเร็งได้ เช่นเดียวกับปากมดลูก เมื่อปีที่แล้วมีรายงานใน New England Journal of Medicine ว่าพบมะเร็งที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ในทวารหนักด้วย ซึ่งแน่นอนว่ามะเร็งนั้นกลายพันธุ์ มาจากหูดที่เกิดจากเชื้อ HPV

condyloma_acc

อวัยวะเพศอักเสบจากหูด (Papillomavirus-associat balanoprosthitis) อันนี้พบค่อนข้างบ่อย จะเกิดรอยแผลแตกเป็นร่องๆ โดนน้ำหรือโดนของเหลว ในช่องคลอดจะแสบ เวลาแข็งตัวหรือเวลาร่วมเพศจะเจ็บ รักษาไม่ค่อยจะหายขาด เป็นๆหายๆ

มะเร็งปากมดลูก เดิมที่เราเคยโทษว่าเกิดจากเริมนั้น เดี๋ยวนี้พิสูจน์แล้วว่าเกิดจากเชื้อ HPV นี่แหละ ดังนั้นถ้าท่านเป็นหูดหงอนไก่ตรงอวัยวะเพศ ก็คงต้องตรวจป้องกันมะเร็งปากมดลูก (Pap smear) บ่อยหน่อย ตรวจปีละครั้งอาจไม่พอซะแล้ว หรือถ้าตรวจ Pap smear แล้วพบว่ามีเชื้อ HPV อยู่ละก้อ หมอก็ต้องตรวจอย่างอื่น เพิ่มเติมด้วย

หญิงมีครรภ์ ถ้าเป็นหูดหงอนไก่อยู่ด้วย หูดจะขยายตัวอย่างเร็วมาก เพราะมีเลือดมาเลี้ยงมาก ในช่วงตั้งครรภ์ ต้องรีบรักษาแต่เนิ่นๆ ไม่อย่างนั้นอาจเป็นอุปสรรคต่อการคลอดได้ ซึ่งถ้าพบตอนคลอด หมอก็จะผ่าให้คลอดทางหน้าท้องแทนการคลอดตามธรรมชาติ

ระยะฟักตัว หลังรับเชื้อมาแล้ว บางราย แค่สัปดาห์ก็แสดงอาการ บางรายเป็นเดือนๆค่อยแสดงอาการ แต่หลายๆราย ก็ไม่แสดงอากรเลยก็มี

การป้องกัน ไม่มีวิธีอื่นใดที่จะป้องกันได้นอกจากใช้ถุงยางอนามัยกับหญิงอื่นที่มิใช่ภรรยา หรือ ในชายรักร่วมเพศก็ต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเท่านั้น   

การรักษา

การรักษามีหลายแบบ ทั้งทายา จี้เย็น จี้ด้วยไฟฟ้า เลเซอร์หรือแม้แต่การตัดออก แต่โดยปกติหมอจะเริ่มด้วยการทายา ยาที่ทาตัวแรกเริ่มชื่อ podophylins 25 % ใช้มานมนานก็ยังคงได้ผลอยู่ การทาต้องให้แพทย์เป็นผู้ทาให้ โดยเฉพาะคนไข้หญิงมีซอกมีหลืบ บางครั้งเป็นที่ผนังช่องคลอดหรือปากมดลูก คนไข้ทาเองไม่ได้ ผมเคยให้ยาคนไข้ชายไปทาเอง กลับมาอีกครั้งเน่าเลยครับ ปกติการทานั้น 4-6 ชั่วโมงต้องล้างออก และทาสัปดาห์ละครั้ง แต่พี่ท่านใจร้อนทาทุกวัน กลับมาอีกทีเน่าเพราะโดนยากัด ถ้าเชื้อดื้อต่อยาตัวนี้ ก็มียาตัวอื่นๆเป็นทางเลือก ปัจจุบันมียาทาตัวใหม่ ชื่อ imiquimod (ชื่อการค้า Aldara )ใช้รักษาหูดได้ผล การกลับเป็นซ้ำน้อย แต่ราคายังแพงอยู่ ค่าใช้จ่ายครั้งละ 3,000-6,000 บาท

ที่มา :

http://www.si.mahidol.ac.th

http://www.inderm.go.th

http://www.haamor.com

Categories: หูด-ตาปลา, หูดหงอนไก่, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, โรคทางอวัยวะเพศ | ป้ายกำกับ: , , , , , , , , , , , , , , | ใส่ความเห็น

จำหน่ายยารักษาหูดหงอนไก่ Aldara Cream


จำหน่ายยา ยารักษาหูดหงอนไก่Aldara Cream 

สินค้าพร้อมส่งทุกกล่อง พร้อมโปรโมชั่นสุดพิเศษ

 

จำหน่ายยารักษาหูดหงอนไก่aldara3  ยาAldara cream

 

จำหน่ายยารักษาโรคหูดทั่วไป-ตาปลา ยารักษาหูด ตาปลา

 

จำหน่ายยารักษาโรคเริม

ยารักษาเริม

 

จำหน่ายยารักษาเชื้อรา

ยารักษาเชื้อรา

 

จำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารเสริม Vistra Vitamin C

Vistra Vitamin C

ติดต่อสั่งซื้อยา 

เบอร์โทร 088-7293220 090-4430059 

id line : aldaracream

id line : eye.20

e-mail: tong_jarukiat59@hotmail.com

facebook : http://goo.gl/1KBJwD

https://warts59.wordpress.com

Categories: หูด-ตาปลา, หูดหงอนไก่ | ป้ายกำกับ: , , , , , , , , , , | ใส่ความเห็น

หูด (Warts)


หูด
โรคหูดคืออะไร? มีสาเหตุจากอะไร? มีปัจจัยเสี่ยงไหม?
หูด หรือ วอร์ท (Warts) คือ โรคติดเชื้อของผิวหนังและ เยื่อบุ (เยื่อเมือก/Mucosa เป็นเซลล์ในกลุ่มเดียวกับผิวหนัง แต่อยู่ภายในร่างกาย เช่น เซลล์เยื่อบุสายเสียง เป็นต้น)ที่เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ เอชพีวี (HPV หรือ Human papilloma virus) ซึ่งเชื้อไวรัสตัวนี้มีมากกว่า 100 ชนิดย่อย โดยแต่ละชนิดย่อยใช้ตัวเลขในการเรียกชื่อ เช่น เอชพีวี 1 (HPV1) เอชพีวี 2 (HPV2) และ เอชพีวี 11 (HPV11) เป็นต้น เชื้อหูดจะทำให้เกิดโรคบริเวณผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ โดยที่ไม่ลุกลามเข้าสู่กระแสเลือด ดังนั้นจึงไม่ใช่โรคมะเร็ง เชื้อ ไวรัสแต่ละชนิดย่อย ก่อให้เกิดโรคที่แตกต่างกันไป ที่รู้จักกันดีคือ ชนิด เอชพีวี 16 และ เอชพีวี 18 ซึ่งทั้งสองชนิดทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก
สำหรับในโรคหูด เชื้อแต่ละชนิดย่อยก็ทำให้เกิดหูดที่ตำแหน่งต่างๆ และมีหน้าตาหูดแตกต่างกันไป เช่น เอชพีวี 1 ก่อให้เกิดหูดที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า และ เอชพีวี 6 ก่อให้เกิดหูดที่บริเวณอวัยวะเพศภายนอก
หูดบริเวณผิวหนัง พบได้บ่อยที่สุดในเด็กและคนอายุน้อย อัตราการพบสูง สุดอยู่ที่ช่วงอายุ 12-16 ปี ผู้ชายและผู้หญิงมีโอกาสเกิดเท่ากัน คนผิวดำ และคนเอเชียเป็นมากกว่าคนผิวขาวประมาณ 2 เท่า
กลุ่มมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้นนอกจากเชื้อชาติ คือ บุคคลบางอาชีพ เช่น คนที่ต้องแล่เนื้อสัตว์ คนที่ผิวหนังมีความต้านทานต่อโรคต่ำ เช่น เป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนัง
ส่วนหูดบริเวณอวัยวะเพศภายนอก (ซึ่งก็เป็นหูดที่ผิวหนัง แต่เป็นผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ) จะพบในวัยเจริญพันธุ์

โรคหูดติดต่อได้ไหม? ติดต่อได้อย่างไร?
หูด เป็นโรคติดต่อได้ โดย
หูดบริเวณผิวหนังติดต่อจากการสัมผัสโดยตรง ผิวหนังที่มีบาดแผลจะติดเชื้อง่ายกว่าผิวหนังที่ปกติ
หูดบริเวณอวัยวะเพศ ติดต่อทางการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งก็เกิดจากการสัมผัสกันนั่นเอง
ทั้งนี้เมื่อได้รับเชื้อไวรัสหูดแล้ว เชื้อจะเข้าสู่เซลล์ผิวหนังและเซลล์เยื่อบุ มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเชื้อ แล้วก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังและเยื่อบุจนเห็นเป็นก้อนเนื้อ ที่เราเรียกว่า หูด
โรคหูด มีระยะฟักตัวประมาณ 2-6 เดือน เนื่องจากเชื้อหูดจะแบ่งตัวเฉพาะที่ผิวหนังและเยื่อบุเท่านั้น ไม่ลุกลามเข้าสู่กระแสเลือด และไม่แพร่เชื้อเข้าสู่อวัยวะอื่นๆ เชื้อหูดจึงไม่ติดต่อผ่านทางอื่นๆ เช่น ไอ จามรดกัน หรือ อย่างในกรณีที่มีหูดที่หน้า การมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้ทำให้ติดเชื้อหูด แล้วกลายเป็นหูดที่อวัยวะเพศหรือที่หน้า แต่ถ้าเกิดเอามือสัมผัสหน้า และมือไปสัมผัสอวัยวะอื่นๆ ก็จะทำให้ติดเชื้อหูดจากหน้าได้
บางคนเป็นลักษณะ พาหะโรค คือ ผิวหนังดูปกติ ไม่มีตุ่มนูน แต่มีเชื้อที่ผิวหนัง ทำให้สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ ซึ่งโดยการสัมผัสผิวหนังส่วนมีเชื้อเช่น เดียวกัน

โรคหูดมีอาการอย่างไร?
อาการพบบ่อยของโรคหูด คือ
หูดที่ผิวหนัง
ชนิดของหูดแบ่งกว้างๆตามลักษณะและตำแหน่ง ได้แก่
หูดทั่วไป
หูดทั่วไป (Common warts) ซึ่งพบได้บ่อยสุด เป็นหูดแบบนูนมีผิวขรุขระ ขนาดมีได้ตั้งแต่ 1 มิลลิเมตร (ม.ม.) จนถึง 1 เซนติเมตร (ซ.ม.) มักพบบริเวณมือและหัวเข่า เกิดจากเชื้อ เอชพีวี 2 และ 4 (บ่อยสุด) แต่พบจาก เอชพีวีชนิดอื่นได้ เช่น 1, 3, 26, 27, 29, 41, 57, 65, และ 77
หูดคนตัดเนื้อ (Butcher’s warts) พบในคนมีอาชีพแล่เนื้อดิบโดยไม่ ได้เกิดจากเนื้อที่แล่ (คือไม่ใช่หูดของ หมู วัว และอื่นๆ ) แต่เกิดจากการติดต่อจากคนสู่คน โดยมีเนื้อเป็นทางผ่าน ลักษณะหูดหน้าตาเหมือนหูด ทั่วไป แต่ใหญ่กว่า มีผิวขรุขระมากกว่า มักพบที่มือ ส่วนใหญ่เกิดจาก เอชพีวี 7 ที่เหลืออาจพบ เอชพีวี 1, 2, 3, 4, 10, 28
หูดชนิดแบนราบ (Plane warts หรือ Flat warts) ซึ่งจะยกนูนจากผิวหนังเพียงเล็กน้อย ผิวค่อนข้างเรียบ มีขนาดตั้งแต่ 1-5 ม.ม. อาจมีจำนวนตั้งแต่ 2-3 อัน ไปจนถึงหลายร้อยอัน และอาจมารวมกันเป็นกลุ่ม มักเกิดบริเวณใบหน้า มือ และหน้าแข้ง เกิดจากเชื้อ เอชพีวี 2, 3, 10, 26, 27, 28, 29, 38, 41, 49, 75, 76
warts59
หูดฝ่ามือฝ่าเท้า (Plamar and Plantar warts) เป็นตุ่มนูนกลม ผิวขรุขระ ถูกล้อมรอบด้วยผิวหนังที่หนาตัวขึ้น มักมีอาการเจ็บ แยกยากจากตาปลา(ผิวหนังจะด้าน หนา จากถูกเบียด เสียดสีบ่อยๆ) แต่ถ้าฝานดูจะมีจุดเลือดออกเล็กๆ ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ เอชพีวี 1 มีบ้างที่เกิดจาก เอชพีวี 4 มักจะไม่เจ็บ และอาจเกิดรวมกลุ่มกัน ทำให้ดูเป็นหูดขนาดใหญ่
อาจจะเรียบหรือนูนเล็กน้อย จนกระทั่งนูนออกมามากมีผิวขรุขระ แข็งกว่าหนังธรรมดา และเวลาตัดส่วนยอดของหูดแล้ว จะเห็นเส้นเลือดฝอยเล็กๆที่อุดตันภายใน และมีจุดเลือดออกเล็กๆ ในบางครั้งการติดเชื้อหูดอาจไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ผิวหนังใดๆเลยก็ได้

หูดอวัยวะเพศ
หูดอวัยวะเพศ อาจเรียกว่าหูดหงอนไก่ (Condyloma accuminata) พบที่อวัยวะเพศภายนอกทั้งชายและหญิง ในกลุ่มชายรักร่วมเพศอาจพบหูดบริเวณรอบทวารหนัก หูดมีลักษณะนูน ผิวตะปุ่มตะป่ำ คล้ายหงอนไก่ เกิดจาก เอชพีวี 6, 11, 16 , 18, 30-32, 42-44, และ 51-58
หูดที่เยื่อบุ นอกจากเชื้อหูดจะทำให้เกิดโรคที่ผิวหนังแล้ว ยังสามารถก่อให้ เกิดโรคที่เยื่อบุได้ เช่น พบได้ที่สายเสียง และกล่องเสียง ซึ่งจะเกิดในเด็กที่คลอดทางช่องคลอดจากมารดาที่ติดเชื้อหูดบริเวณอวัยวะเพศ จึงได้รับเชื้อ จากการกลืน หรือสำลักขณะคลอดได้ หรืออาจเกิดในผู้ใหญ่จากการร่วมเพศโดยการใช้ปาก นอกจากนี้ยังอาจพบได้ที่เยื่อบุตา ลักษณะหูดจะเป็นตุ่มนูน มีผิวขรุขระ คล้ายหูดทั่วไป
รักษาโรคหูดได้อย่างไร?
แนวทางการรักษาโรคหูด แบ่งออกเป็นการรักษาด้วยยา (มักเป็นยาใช้ภายนอก) และด้วยการผ่าตัด รวมถึงการไม่รักษา ซึ่งการรักษาไม่ใช่การฆ่าไวรัส เพราะยังไม่มียาฆ่าไวรัสได้ แต่เป็นเพียงการทำลายเนื้อเยื่อบริเวณที่เห็นเป็นโรค จึงอาจยังมีเชื้อไวรัสหลงเหลืออยู่รอบๆที่ผิวหนังที่เห็นเป็นปกติ ดังนั้นแม้จะเอาหูด และเนื้อเยื่อผิวหนังรอบๆหูด ออกไปกว้างพอ ก็ไม่เป็นการรับประกันว่าเชื้อจะหมดไป โรคจึงกลับมาเป็นใหม่ได้
ในการจะรักษาด้วยวิธีใดนั้น แพทย์จะประเมินจากหลายๆปัจจัย เช่น ขนาดของหูด จำนวนหูดที่เกิด ลักษณะของหูด ตำแหน่งที่เกิด อายุ และสุขภาพโดย รวมของผู้ป่วย รวมทั้งดุลพินิจของแพทย์ ซึ่งโดยทั่วไป วิธีรักษาหูด ได้แก่
การไม่รักษา ประมาณ 65% ของผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันปกติ โรคหูดจะยุบหายเองภายใน 2 ปี ดังนั้นถ้าเป็นหูดขนาดเล็ก และมีจำนวนเล็กน้อย อาจเลือกวิธีนี้ได้
การรักษาด้วยยา ซึ่งควรเป็นการรักษาโดยแพทย์เท่านั้น โดยมียาหลายชนิดให้เลือกใช้ แต่ ยังไม่มีวิธีไหนที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
ยาแบบทา มีทั้งยาที่ผู้ป่วยสามารถหาซื้อมาทาเอง (ไม่แนะนำ เพราะควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ) และยาที่แพทย์ต้องเป็นผู้รักษาให้ เนื่องจากยาอาจเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อใกล้เคียงได้
ยาแบบฉีดเฉพาะที่ ใช้เมื่อยาแบบทาไม่ได้ผล โดยฉีดยาลงไปที่หูดโดย ตรง
ยากินและยาฉีดเข้าเส้น ยายังให้ผลไม่ดีนัก และยังอยู่ในการศึกษา และอาจมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้มาก
การผ่าตัด ซึ่งให้การรักษาโดยแพทย์เท่านั้น
โดยใช้ความเย็น คือ การใช้ไนโตรเจนเหลว ในระดับอุณหภูมิที่พอเหมาะ ป้ายไปบริเวณหูด อาจทำซ้ำทุกๆ 1-4 สัปดาห์ ใช้เวลารักษาประมาณ 3 เดือน ผล ข้างเคียง คือค่อนข้างเจ็บ อาจเกิดแผลเป็น มีสีผิวเปลี่ยน และแผลจี้ติดเชื้อ วิธีนี้ อัตราการหายประมาณ 50-80%
การใช้เลเซอร์ ใช้สำหรับหูดที่ใหญ่ หรือเมื่อรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล ทั้งนี้ แพทย์ พยาบาลที่ให้การรักษา อาจติดเชื้อได้ เนื่องจากเชื้อสามารถออกมากับควันที่เกิดขณะทำเลเซอร์ และหายใจเอาเชื้อเข้าไป โดยผลข้างเคียงจากการรักษาวิธีนี้ คือ ค่อนข้างเจ็บ อาจเกิดแผลเป็น และแผลผ่าตัดอาจติดเชื้อ อัตราการหายประมาณ 65%
การจี้ด้วยไฟฟ้า อาจมีประสิทธิภาพดีกว่าการใช้ความเย็นจี้ แต่เจ็บมากกว่า และอาจเกิดแผลเป็นมากกว่า และเช่นเดียวกับเลเซอร์ ผู้รักษาอาจติดเชื้อได้ด้วยวิธีการเดียวกัน
การผ่าตัดแบบใช้มีด ซึ่งเหมือนการผ่าตัดทั่วไป
ดูแลตนเอง และป้องกันโรคหูดได้อย่างไร?
การดูแลตนเอง และการป้องกันโรคหูด ได้แก่
หลีกเลี่ยงการสัมผัสหูดของตนเอง (ในกรณีเป็นอยู่) เช่น การแคะแกะเกาหูดที่เป็นอยู่ การกัดเล็บ เพราะจะทำให้ผิวหนังบริเวณอื่นๆ ติดเชื้อแล้วกลายเป็นหูดได้
หลีกเลี่ยงการสัมผัสหูดของผู้อื่น ผู้ที่อยู่ในบ้านเดียวกัน ควรแยกของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าขนหนู เสื้อผ้า กรรไกรตัดเล็บ มีดโกน พยายามเลี่ยงการทำเล็บที่ร้านไม่สะอาด การตัดผมแบบที่มีการโกนขนหรือหนวดที่ใช้ใบมีดร่วมกัน และห้ามใช้เครื่องมือที่ใช้ตัดหรือเฉือนหูดร่วมกับผู้อื่น
ในโรคหูดบริเวณอวัยวะเพศ การใช้ถุงยางอนามัย ไม่สามารถป้องกันได้ เพราะผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศภายนอกยังคงสัมผัสกันอยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์แบบสำส่อน
ถ้าเป็นหูดที่อวัยวะเพศ ควรต้องรักษาหูดทั้งของตนเองและของคู่นอน ไปพร้อมๆกัน
ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก แบบ 2 สายพันธุ์ และแบบ 4 สายพันธุ์ ซึ่งแบบ 4 สายพันธุ์นี้เองนอกจากจะสามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้แล้ว ยังช่วยป้องกันโรคหูดที่เกิดจากเชื้อ เอชพีวี 6 และ 11 (หูดบริเวณอวัยวะเพศ) ได้ประมาณ 80-90%

ที่มา :

พญ.วิญญารัตน์ ตันศิริ

http://www.inderm.go.th

http://haamor.com

 

Categories: สาระความรู้สุขภาพ, หูด-ตาปลา, หูดหงอนไก่, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, โรคทางอวัยวะเพศ | ป้ายกำกับ: , , , , , , , , , | ใส่ความเห็น

หูดข้าวสุก(Molluscum contagiosum)


หูดข้าวสุก

หูดข้าวสุก (Molluscum contagiosum)

คือโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส Molluscum contagiosum virus (MCV) ทำให้เกิดเป็นตุ่มนูนบนผิวหนัง ขนาดประมาณ 2-5 มิลลิเมตร จะพบมากขึ้นในรายที่มีการติดเชื้อ HIV

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ Molluscum contagiosum virus (MCV) ซึ่งเป็นเชื้อในตระกูล poxvirus จำแนกอยู่ในจีนัส Molluscipoxvirus

อาการและอาการแสดง

หูดข้าวสุกมีลักษณะเป็นตุ่มนูนบนผิวหนัง ขนาดประมาณ 2-5 มิลลิเมตร มีลักษณะเฉพาะตัวคือมีรอยบุ๋มตรงกลาง มีการอักเสบและการตายของเนื้อเยื่อที่เป็นโรคน้อย เมื่อเทียบกับโรคที่เกิดจาก poxvirus ชนิดอื่นๆ ลักษณะการกระจายของตุ่มมีทั้งแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม พบได้ทั่วร่างกาย ยกเว้นที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า
ส่วนใหญ่หูดข้าวสุกมักขึ้นที่บริเวณหน้า คอ เปลือกตา และบริเวณรักแร้ของเด็ก แต่ก็สามารถขึ้นที่บริเวณอื่นได้ด้วย การติดเชื้อมักเกิดจากการสัมผัสกับหูดข้าวสุกของผู้ป่วยโดยตรง ประวัติการติดเชื้อโดยส่วนใหญ่ของผู้ป่วยมักเกิดในสถานที่ที่ค่อนข้างชื้น เช่น สระว่ายน้ำหรือการใช้อ่างอาบน้ำร่วมกัน กรณีที่หูดข้าวสุกเกิดที่บริเวณอวัยวะเพศ หรือบริเวณทวารหนัก อาจเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ได้

การดำเนินโรค

ข้าวสุกติดต่อได้โดยการสัมผัสและทางเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อได้โดยการใช้สระว่ายน้ำร่วมกัน  หากมีโรคภูมิแพ้ของผิวหนังอยู่ก่อนจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากขึ้น
ระยะฟักตัวของโรคใช้เวลา 2 สัปดาห์ถึง 6 เดือน (เฉลี่ยอยู่ที่ 2-7 สัปดาห์) ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติโรคนี้สามารถหายได้เอง ภายในเวลา 3-4 เดือนโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน แต่รอยโรคที่ผิวหนังอาจจะคงอยู่ได้นาน 3-5 ปี
หูดข้าวสุกจะพบมากขึ้นในรายที่มีการติดเชื้อ HIV ในระยะที่ภูมิคุ้มกันเริ่มต่ำ พบได้ 5-18% ในผู้ติดเชื้อ HIV ซึ่งมักจะเป็นทั่วทั้งตัวและคงอยู่นานในรายที่อยู่ในระยะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS) แล้ว นอกจากนี้ยังพบว่าโรคหูดข้าวสุกมีความสัมพันธ์กับภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องแบบอื่นๆด้วย

การวินิจฉัยโรค

โดยทั่วไปวินิจฉัยจากอาการและอาการแสดงข้างต้น สามารถวินิจฉัยยืนยันได้จากการตรวจทางพยาธิวิทยาซึ่งจะพบ Cytoplasmic eosinophilic inclusions หรือที่เรียกว่า molluscum bodies ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่บ่งบอกถึงการแบ่งตัวของ poxvirus

การรักษา

หูดข้าวสุก ควรรักษาแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และควรรักษาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งหายหมด

เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ การรักษามีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับขนาดจำนวนและตำแหน่งของหูด เช่น

  • การขูดออก
  • การทำให้เย็นจัดด้วยไนโตรเจนเหลว
  • การทำลายเชื้อโดยการแต้มน้ำกรดที่ตุ่มหูด
  • การจี้ด้วยไฟฟ้า
  • ถ้าเป็นเด็กเล็กอาจใช้ยาทากระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน

 

การป้องกัน

ไม่ควรว่ายน้ำในขณะที่มีบาดแผล เมื่อเป็นหูดข้าวสุกแล้วควรรักษาตั้งแต่เริ่มเป็นบริเวณ
เล็กๆ จนสามารถควบคุมไม่ให้โรคแพร่กระจายได้

ที่มา :

https://th.wikipedia.org

http://www.inderm.go.th/

Categories: หูด-ตาปลา, หูดหงอนไก่, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, โรคทางอวัยวะเพศ | ป้ายกำกับ: , , , , , , , , | ใส่ความเห็น

สร้างเว็บไซต์หรือบล็อกฟรีที่ WordPress.com.